น้อยใจพ่อแม่ชอบใส่อารมณ์กับลูก

มีคุณผู้อ่านรายหนึ่งอินบ็อกซ์เข้ามาในแฟนเพจ Kate Inspirer ขอปรึกษาครูเคทว่า “…ขอคำแนะนำหน่อยครับ คือผมรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า รู้สึกว่าพ่อแม่ทำไมถึงทำกับผมอย่างงี้ คือพ่อแม่ไม่ค่อยจะให้กำลังใจ ไม่ค่อยจะรับฟังเหตุผลจากผมเลย พูดไม่ให้ความหวังผม เลยชอบพูดต่อว่าผมให้คนอื่นเห็นตลอด แล้วเวลาสอนผมก็จะใช้อารมณ์ในการสอน ไม่ค่อยจะให้อิสระกับผมเลย ผมควรจะทำอย่างไรดีให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นคับผมเริ่มรู้สึกจะทนไม่ไหวแล้วคับ…”

ถ้าจะแก้ปัญหาพ่อแม่ลูก เราลองมาทำความเข้าใจมุมมองและความรู้สึกนึกคิดของแต่ละฝ่ายกันก่อนดีกว่า

การที่พ่อแม่ไม่รับฟังเหตุผลจากลูกนั้น อาจเกิดจากอัตตาหรือการยึดถือว่าตนเองเป็นพ่อเป็นแม่ มีประสบการณ์มากกว่าลูก ความคิดของพ่อแม่จะถูกต้องดีงามกว่าของลูก เพราะมองว่าลูกอ่อนประสบการณ์กว่า แต่ในความเป็นจริงที่พ่อแม่มักไม่รู้ตัวก็คือ พ่อแม่ที่มีความวิตกกังวล มีความกลัวทั้งที่รู้ตัวและที่ไม่รู้ตัว มักจะสร้างกำแพงขึ้นปกป้องตัวเองและครอบคลุมไปถึงลูก กำแพงนี้ก็คืออัตตา ความยึดถือในความเชื่อของตนเองนั่นเอง พ่อแม่ที่ขี้กลัว ขี้กังวล จะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่ชอบเซอร์ไพรส์ ไม่ชอบอะไรที่คาดเดาไม่ได้ ดังนั้นการที่ลูกเสนอความคิดเห็น ความกลัวของพ่อแม่จึงทำให้พ่อแม่ไม่รับฟัง ทั้งๆ ที่บางทียังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าลูกจะพูดว่าอะไร พ่อแม่ที่ชอบตีกรอบลูกมากเกินไปก็คือพ่อแม่ที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ตนควบคุมไม่ได้นั่นเอง

พ่อแม่ที่ชอบพูดจาแรงๆ ชอบตำหนิติเตียนลูก และชอบเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น อาจเป็นเพราะขาดต้นแบบที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนสมัยก่อนมีคำกล่าวว่า อย่าชมลูกเดี๋ยวจะเหลิง ประกอบกับพ่อแม่บางส่วนก็เติบโตมาพร้อมกับบรรยากาศอย่างนี้ภายในบ้าน คือไม่ชม แต่ด่าหรือประชดแทน ดังนั้นเมื่อพ่อแม่มีลูกของตัวเอง จะชมลูกบางคนก็รู้สึกทำไม่เป็น เขิน หรืออะไรก็ตามที่ผุดขึ้นในใจ คำชื่นชมจึงเผลอหลุดออกมาเป็นคำพูดเหน็บแนมเสียดสีเสียเป็นส่วนใหญ่


ไทยรัฐโพล

คุณสนใจที่จะลองผลิตภัณฑ์เสริมโภชนาการเพื่อรองรับปัญหาสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุหรือไม่

สนใจมากสนใจปานกลางไม่ค่อยสนใจไม่สนใจเลย

https://www.google.com/recaptcha/api2/anchor?ar=1&k=6LcokawgAAAAAARJIuEgpoaH-N1hbr7quLKYTJO9&co=aHR0cHM6Ly93d3cudGhhaXJhdGguY28udGg6NDQz&hl=en&type=image&v=V6_85qpc2Xf2sbe3xTnRte7m&theme=light&size=invisible&badge=bottomright&cb=j9y92qfbxkv3

การเก็บรวบรวมข้อมูลนี้นำไปใช้เพื่อ กิจกรรมทางการตลาดโดยยึดหลัก ปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

มีคุณผู้อ่านรายหนึ่งอินบ็อกซ์เข้ามาในแฟนเพจ Kate Inspirer ขอปรึกษาครูเคทว่า “…ขอคำแนะนำหน่อยครับ คือผมรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า รู้สึกว่าพ่อแม่ทำไมถึงทำกับผมอย่างงี้ คือพ่อแม่ไม่ค่อยจะให้กำลังใจ ไม่ค่อยจะรับฟังเหตุผลจากผมเลย พูดไม่ให้ความหวังผม เลยชอบพูดต่อว่าผมให้คนอื่นเห็นตลอด แล้วเวลาสอนผมก็จะใช้อารมณ์ในการสอน ไม่ค่อยจะให้อิสระกับผมเลย ผมควรจะทำอย่างไรดีให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นคับผมเริ่มรู้สึกจะทนไม่ไหวแล้วคับ…”

ถ้าจะแก้ปัญหาพ่อแม่ลูก เราลองมาทำความเข้าใจมุมมองและความรู้สึกนึกคิดของแต่ละฝ่ายกันก่อนดีกว่า

การที่พ่อแม่ไม่รับฟังเหตุผลจากลูกนั้น อาจเกิดจากอัตตาหรือการยึดถือว่าตนเองเป็นพ่อเป็นแม่ มีประสบการณ์มากกว่าลูก ความคิดของพ่อแม่จะถูกต้องดีงามกว่าของลูก เพราะมองว่าลูกอ่อนประสบการณ์กว่า แต่ในความเป็นจริงที่พ่อแม่มักไม่รู้ตัวก็คือ พ่อแม่ที่มีความวิตกกังวล มีความกลัวทั้งที่รู้ตัวและที่ไม่รู้ตัว มักจะสร้างกำแพงขึ้นปกป้องตัวเองและครอบคลุมไปถึงลูก กำแพงนี้ก็คืออัตตา ความยึดถือในความเชื่อของตนเองนั่นเอง พ่อแม่ที่ขี้กลัว ขี้กังวล จะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่ชอบเซอร์ไพรส์ ไม่ชอบอะไรที่คาดเดาไม่ได้ ดังนั้นการที่ลูกเสนอความคิดเห็น ความกลัวของพ่อแม่จึงทำให้พ่อแม่ไม่รับฟัง ทั้งๆ ที่บางทียังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าลูกจะพูดว่าอะไร พ่อแม่ที่ชอบตีกรอบลูกมากเกินไปก็คือพ่อแม่ที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ตนควบคุมไม่ได้นั่นเอง

พ่อแม่ที่ชอบพูดจาแรงๆ ชอบตำหนิติเตียนลูก และชอบเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น อาจเป็นเพราะขาดต้นแบบที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนสมัยก่อนมีคำกล่าวว่า อย่าชมลูกเดี๋ยวจะเหลิง ประกอบกับพ่อแม่บางส่วนก็เติบโตมาพร้อมกับบรรยากาศอย่างนี้ภายในบ้าน คือไม่ชม แต่ด่าหรือประชดแทน ดังนั้นเมื่อพ่อแม่มีลูกของตัวเอง จะชมลูกบางคนก็รู้สึกทำไม่เป็น เขิน หรืออะไรก็ตามที่ผุดขึ้นในใจ คำชื่นชมจึงเผลอหลุดออกมาเป็นคำพูดเหน็บแนมเสียดสีเสียเป็นส่วนใหญ่

พ่อแม่บางคนชอบเปรียบเทียบลูกตัวเองกับคนอื่น หรือตำหนิลูกต่อหน้าคนอื่น อาจเป็นเพราะพ่อแม่รู้สึกด้อยกว่าคนอื่น หรือไม่มั่นใจในตนเอง (ลูกก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของตนเอง) จึงเผลอเปรียบเทียบตัวเองและลูกของตัวเองกับคนอื่นอยู่บ่อยๆ พฤติกรรมอย่างนี้ของพ่อแม่จะทิ้งรอยแผลเป็นไว้ในใจลูกยาวนาน และลูกจะเติบโตเป็นคนไม่เชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า หรือแม้แต่กลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ขี้อิจฉาก็เป็นได้

พ่อแม่บางคนอาจคาดหวังจะให้ลูกทำในสิ่งที่พวกเขาทำไม่สำเร็จค่ะ พ่อแม่ที่เรียนไม่เก่งก็อยากให้ลูกเรียนเก่ง พ่อแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองล้มเหลวก็อยากให้ลูกประสบความสําเร็จ พ่อแม่ที่เคยลำบากก็อยากให้ลูกสุขสบาย พ่อแม่ที่เคยถูกกดขี่หรือไร้อำนาจก็อยากให้ลูกเป็นเจ้าคนนายคน เป็นเรื่องปกติในทุกครอบครัว แต่พ่อแม่ที่มีความกลัวหรือมีความบอบช้ำทางใจจากอดีตมากกว่าปกติ จึงคาดหวังลูกมากกว่าปกติ

ส่วนลูกที่รู้สึกอึดอัดมักเกิดจากการที่เขาถูกควบคุมชีวิตจนเสมือนว่าเขาไม่ได้เป็นเจ้าของชีวิตของเขา ต้องทำตามพ่อแม่เพราะเขาอยากให้พ่อแม่รักเขา และด้วยที่เขาก็รักพ่อแม่ จึงทำตามพ่อแม่เพราะไม่อยากให้พ่อแม่เสียใจ แต่การที่คนเราต้องยอมทำตามคนอื่นอยู่ตลอดเวลาโดยไม่มีโอกาสเป็นตัวของตัวเองก็ก่อให้เกิดความรู้สึกอึดอัดอย่างนี้แหละค่ะ ยิ่งลูกที่ถูกตีกรอบอายุมากขึ้น เขายิ่งอยากค้นหาตัวตนของเขาที่เป็นตัวตนของเขาอย่างแท้จริง ไม่ใช่ตัวตนที่พ่อแม่ปั้นให้เป็น แต่เขาไม่มีโอกาสแสดงออก แม้แต่คำพูดก็ยังไม่มีใครฟังเขา เมื่อเป็นอย่างนี้ความอึดอัดก็จะทวีมากขึ้นจนเกิดเป็นพฤติกรรมที่ไม่มีใครอยากให้เป็น เช่น ก้าวร้าว รุนแรง หรือ เก็บกด ซึมเศร้า หมดแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต

คำแนะนำสำหรับคุณผู้อ่านที่ถามมาก็คือ ทำความเข้าใจเราคงแก้ปัญหาให้พ่อแม่ไม่ได้ค่ะ พ่อแม่ต้องแก้ไขตัวเองเมื่อเขาเห็นว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้ ถ้าพ่อแม่ไม่เห็นปัญหา หรือเห็นแต่นั่งทับเอาไว้ เราก็ต้องทำความเข้าใจสิ่งที่อยู่ในใจพ่อแม่ และยอมรับ เช่น พ่อแม่ใส่อารมณ์กับเราโดยไม่มีเหตุผล ก็ขอให้เข้าใจว่าพ่อแม่มีปมปัญหาในใจที่เขาไม่รู้ตัว และเขาไม่รู้วิธีการที่จะจัดการกับอารมณ์ของเขา เราลองเมตตาพ่อแม่ของเราบ้าง เพราะอย่างไรพ่อแม่ก็เป็นคนธรรมดาที่มีปัญหาเหมือนกับคนทั่วไป ถ้าเราเข้าใจความรู้สึกเบื้องลึกของพ่อแม่ได้ เราก็จะไม่โกรธ ไม่น้อยใจพ่อแม่ค่ะ

สิ่งที่เราทำได้เพื่อแก้ปัญหาให้ตัวเองคือการรู้จักตัวเอง เข้าใจความต้องการ ความรู้สึก ความสามารถของตัวเองให้ดี แล้วพัฒนาตัวเองเพื่อตัวเองค่ะ ไม่ใช่เพื่อคนอื่น หมั่นเมตตาตัวเองเมื่อทำผิดพลาดไป ลุกขึ้นแก้ไขปัญหาให้ถูกต้อง อย่าเสียเวลาโทษตัวเองหรือดูถูกตัวเอง มองความสามารถของตัวเองในการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่มองผลลัพธ์ที่ล้มเหลว มองให้เห็นทักษะเชิงบวกและพัฒนาการของตัวเอง โดยไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น อย่างนี้ก็จะสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความสุขได้ค่ะ

ใครมีปัญหา ลูกเรียนไม่เก่ง ไม่รู้จะทำอะไรในอนาคต ญาติพี่น้องติดกลุ่มลัทธิ ปัญหาครอบครัว ความสัมพันธ์ การทำงาน ติดโซเชียล ติดเกม panic และ phobia มารับคำปรึกษากับครูเคทได้ที่ KruKate Counseling Center ต้องการนัดคิว โทร. 0814581165 หรือ เข้าไปฝากคำถามและแชร์ประสบการณ์ในแฟนเพจ www.facebook.com/kateinspirer และ YouTube channels: Kate Inspirer ได้นะคะ